51.การเก็บหนังสือมีประโยชน์ต่อข้อใดมากที่สุด
ก.การค้นหา*
ข.การตรวจสอบ
ค.การทำความสะอาดที่เก็บ
ง.ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
52.ใบรับหนังสือมีประโยชน์อย่างไร
ก.แสดงว่าหนังสือนั้นไม่สูญหาย
ข.แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว
ค.เป็นหลักฐานว่าผู้ส่งได้ส่งหนังสือแล้ว
ง.เป็นหลักฐานว่าได้ส่งหนังสือและมีผู้รับหนังสือนั้นไปแล้ว*
53.หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้
ก.หนังสือภายนอก
ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือสั่งการ
ง.หนังสือประทับตรา*
54.ในสำเนาคู่ฉบับควรมีลายมือชื่อบุคคลต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ใดที่ไม่จำเป็นต้องมี
ก.ผู้ร่าง
ข.ผู้พิมพ์
ค.ผู้สั่งพิมพ์*
ง.ผู้ตรวจ-ทาน
55.ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง
ก.กอง แผนก กรม กระทรวง
ข.แผนก กรม กอง กระทรวง
ค.กระทรวง กอง กรม แผนก
ง.กระทรวง กรม กอง แผนก*
56.การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง
ก.ที่มุมบนขวา*
ข.ที่มุมบนซ้าย
ค.ที่มุมล่างซ้าย
ง.ที่มุมล่างขวา
57.ข้อใดเรียงลำดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับหนังสือได้ถูกต้อง
ก.ลงทะเบียนรับ ประทับตรารับหนังสือ เปิดผนึกซองตรวจ
ข.ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ เปิดผนึกซองตรวจ
ค.เปิดผนึก-ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ และตรวจ
ง.เปิดผนึก ตรวจ ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ*
58.การเปิดซองหนังสือราชการ ถ้ามีซองอีกชั้นหนึ่งอยู่ข้างใน แสดงว่าหนังสือนั้นต้องเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายใน
ข.หนังสือภายนอก
ค.หนังสือราชการด่วน
ง.หนังสือราชการลับ*
59.หนังสือประทับตราต่างกับหนังสือภายนอกและหนังสือภายในในแง่ใด
ก.คำขึ้นต้น
ข.คำลงท้าย
ค.การลงชื่อ
ง.ทั้ง ก. ข. และ ค.*
60.ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร
ก.แดง*
ข.ดำ
ค.น้ำเงิน
ง.เขียว
61.”ประกาศ ณ วันที่………” ใช้กับหนังสือสั่งการชนิดใด
ก.คำสั่ง
ข.ระเบียบ
ค.ข้อบังคับ
ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.*
62.บรรทัดสุดท้ายของหนังสือสั่งการทุกประเภทจะต้องเป็นข้อความที่ระบุอะไร
ก.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ข.ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ
ค.ตำแหน่งของผู้มีอำนาจออกหนังสือ*
ง.ลายมือชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือ
63.ข้าราชการที่มีตำแหน่งยศทหารหรือตำรวจ ต้องพิมพ์ยศลงหน้าชื่อในวงเล็กใต้ลายเซ็นหรือไม่
ก.ไม่ต้องพิมพ์ยศ
ข.พิมพ์ยศลงไปด้วย*
ค.พิมพ์หรือไม่พิมพ์ก็ได้
ง.ไม่มีคำตอบถูก
64.การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
ก.เรียน
ข.กราบเรียน
ค.ถึง
ง.นมัสการ*
65.ถ้าอธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้ทำงานแทนเมื่อลงนามในหนังสือจะต้องใช้คำว่าอย่างไร
ก.ใช้ตำแหน่งของผู้ทำงานแทน
ข.ทำงานแทน
ค.รักษาราชการแทน *
ง.ปฏิบัติราชการแทน
66.โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด
ก.เรื่องเร่งด่วน
ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ
ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน
ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน*
67.ทำไมจึงต้องมีระเบียบงานสารบรรณ
ก.เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบเป็นหลักปฏิบัติ*
ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาในการควบคุมงาน
ค.เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรู้เรื่องระเบียบงานสารบรรณ
ง.เพื่อให้ข้าราชการร่างและรับส่งหนังสือราชการได้ถูกต้อง
68.พระเจ้าแผ่นดินแต่งตัว ใช้ราชาศัพท์ว่าอย่างไร
ก.ทรงเครื่อง*
ข.แต่งพระองค์
ค.ทรงเครื่องใหญ่
ง.ทรงพระสุคนธ์
69.พระภิกษุ สามเณร ป่วยใช้คำว่าอย่างไร
ก.ไม่สบาย
ข.ประชวร
ค.อาพาธ*
ง.ทรงพระประชวร
70.ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก.เดินทาง
ข.ฟังเทศน์
ค.ทำบุญ*
ง.ไปวัด
71.พระฉาย ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก. พระรูป
ข.กระจกส่อง*
ค.หวี
ง.ช้อนส้อม
72.นายกรัฐมนตรี ตาย คำที่ขีดเส้นใต้คำใดจึงจะถูกต้องตามราชาศัพท์
ก.ถึงแก่กรรม
ข.มรณกรรม
ค.อสัญกรรม *
ง.พิราลัย
73.อายุการเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.5 ปี
ข.10 ปี*
ค.15 ปี
ง.ไม่มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้
74.หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลักต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 15 ปี
ข.นำไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
ค.ให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณโดยเคร่งครัด
ง.ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ*
75.การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือราชการไปดู หรือคัดลอก ต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน
ก.เจ้าหน้าที่เก็บ
ข.ประจำแผนก
ค.หัวหน้าแผนก
ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย*
76.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.1 ปี*
ข.1 ปี 6 เดือน
ค.2 ปี
ง.3 ปี
77.ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการจะต้องเป็นผู้อยู่ในตำแหน่งระดับใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผน
ข.หัวหน้าฝ่าย
ค.หัวหน้ากอง*
ง.รองอธิบดี
78.ถ้าปรากฏว่าหนังสือราชการที่เก็บไปสูญหายไป จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ติดต่อเจ้าของเรื่องเดิมเพื่อหาสำเนามาแทน*
ข.เรียกตัวผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องที่หายมาสอบถาม
ค.ปล่อยไปเลยแต่ให้หมายเหตุว่าเรื่องหาย
ง.ผิดทั้ง ก. ข. และ ค.
79.การตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือให้ตั้งอย่างน้อยกี่คน
ก.2 คน
ข.3 คน*
ค.4 คน
ง.5 คน
80.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใด
ก.อธิบดี
ข.ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเทียบเท่าอธิบดี
ค.ปลัดกระทรวง
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. แล้วแต่กรณี*
81.คณะกรรมการทำลายหนังสือจะต้องแต่งตั้งจากข้าราชการระดับใดขึ้นไป
ก.ระดับ 2
ข.ระดับ 3*
ค.ระดับ 4
ง.ระดับใดก็ได้
82.ผู้มีอำนาจอนุมัติการทำลายหนังสือราชการในส่วนภูมิภาคได้แก่ผู้ใด
ก.ปลัดจังหวัด
ข.อธิบดี
ค.รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด*
83.ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่มีความสูงเท่าไร
ก.2.5 ซม.
ข.3.0 ซม.*
ค.3.5 ซม.
ง.4.0 ซม.
84.ขนาดตราครุฑที่ใช้ประทับแทนการลงชื่อต้องเป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกและวงในเท่าไร
ก. 3.5 ซม. และ 2.5 ซม.
ข. 4.0 ซม. และ 3.0 ซม.
ค. 4.5 ซม.และ 3.5 ซม. *
ง.ขนาดพอเหมาะเท่าไรก็ได้
85.ตราครุฑมาตรฐานที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณ 2526 มีกี่ขนาด
ก.2 ขนาด*
ข.3 ขนาด
ค.4 ขนาด
ง.5 ขนาด
86.การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้มายืมและขอรับหนังสือต้องเป็นข้าราชการที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผนก*
ข.หัวหน้าฝ่าย
ค.หัวหน้ากอง
ง.รองอธิบดี
87.การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จแล้วของกระทรวงต่างๆ ตามปกติเป็นหน้าที่ของใคร
ก.แผนกสารบรรณของแต่ละกรม
ข.แผนกเก็บกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวง
ค.ฝากเก็บที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*
88.การยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการ ผู้มีอำนาจในการดำเนินการยืมจะต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการตำแหน่งระดับใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผนก
ข.หัวหน้าฝ่าย
ค.หัวหน้ากอง*
ง.รองอธิบดี
89.หนังสือราชการประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป
ก.หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ข.หนังสือเกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน
ค.หนังสือที่ต้องใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*
90.การเขียนหนังสือราชการที่มีคำลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ” เป็นหนังสือที่มีไปถึงใคร
ก.อธิบดี
ข.ปลัดกระทรวง
ค.ข้าราชการระดับ 5
ง.ถูกหมดทุกข้อ*
เข้าชม : 8053
|